ตลาดน้ำอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตลาดน้ำอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้สถานที่ แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาเชิงอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยตั้งแต่ สมัยอยุธยาทั้งด้านการแต่งกายสถาปัตยกรรมที่งดงามและคงเอกลักษณ์ขนบ ธรรมเนียมประเพณี การละเล่น และแสดงพื้นบ้าน ของกินของใช้ในยุคเก่า วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยๆ ที่เรียบง่าย
ตลาดน้ำอโยธยา เป็นจุดศูนย์รวมนัก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศ และทัศนียภาพอันงดงามแบบไทยๆด้วยการเดินชมตลาดเพื่อชิมอาหารรสชาดอร่อยๆ เรียบคลองยาว หรือจะซื้อหาของกินของฝากบนร้านค้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในเรือนไทยอันงดงาม รอบตลาดน้ำอโยธยาของเรา ก็เพลิดเพลินไม่แพ้กัน พร้อมกันนี้ก็ยังมีเรือบริการรับส่งไปยังท่าเรือภายในตลาดอีกด้วยเพื่อ สะท้อนถึงวิถีการ เดินทางในสมัยก่อน
จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งที่ตลาดน้ำอโยธยาได้นำมารวบรวมไว้ที่นี่ คือการนำชื่ออำเภอทั้งหมดของ จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาทั้งหมด มาตั้งเป็นชื่ออาคาร สถานที่ เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนได้รู้จักสินค้าของแต่ละอำเภอ และสามารถจดจำชื่ออำเภอต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดี
ปณิธาน ความตั้งใจเพื่อให้ตลาดน้ำอโยธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ผู้ที่มาเยือนได้ศึกษาเรียน รู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทย เห็นคุณค่าของศิลปะและ วัฒนธรรมของไทยแผ่นดินอันอบอุ่นของไทย ที่บรรพชนรุ่นก่อนได้ต่อสู้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้มีที่อยู่ที่อาศัยและ ควรรักษาๆไว้ให้ดีอีกนาน










วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วัดเจ้าพระยาไท หรือ วัดป่าแก้ว) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ถ้ามาจากตัวเมืองข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และวจะเห็นพระเจดีย์วัดสามปลื้มอยู่กลางสี่แยก เลี้ยวขวาไปไม่ไกลก็จะเห็นป้ายมีทางแยกซ้ายมือหรือหากมาทางถนนสายเอเชีย เลี้ยวเข้าแยกอยุธยาแล้ว พบพระเจดีย์ใหญ่กลางถนนก็เลี้ยวซ้าย วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมื่อ พ.ศ.1900 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง “วัดป่าแก้ว” ขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงศพ “เจ้าแก้วเจ้าไท” ในการสร้างวัดป่าแก้วครั้งนี้ ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นคู่กับพระวิหารด้วย

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสริมพระเจดีย์ให้ใหญ่และสูงขึ้นพร้อมๆกับการสร้าง เจดีย์ยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่ายจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียติเมื่อคราวทรงชนะศึกยุทธหัตถี พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า “วัดชัยมงคล” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย แล้วเพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้



















หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา







ประวัติหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง"สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867 หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย พระ พุทธไตรรัตนนายก เรียกกันเป็นสามัญว่า หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง (ซำปอกง)ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดพนัญเชิง ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตรงข้ามกับมุมตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตามพ ระศาวดารกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867 ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี 26 ปี ตอนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้บูรณะซ่อมแซมให้อยู่ใน สภาพดีมาโดยตลอด กล่าวกันว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฎมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจาก พระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่อัศจรรย์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงบูรณะองค์พระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์และถวายพระนามว่า พระพุทธไตรรัตนายก ชาวจีน ซึ่งขนานนามหลวงพ่อโต องค์นี้ว่าซำปอกง
กล่าว ว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ทรงสร้างขึ้น ณ บริเวณที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก ส่วนที่มาของคำว่าพนัญเชิงนั้น ตามตำนานมูลศาสนากล่าวว่าเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า พะแนงเชิง ซึ่งแปลว่า การนั่งพับเพียบ ซึ่งเป็นอาการที่พระเจ้าสายน้ำผึ้งและพระนางสร้อยดอกหมากใช้ในวาระสุดท้าย ของเรื่อง นอกจากนั้น จากการวิเคราะห์ศัพท์ที่ใกล้เคียงพบว่า คำว่าพะแนงเชิง ทางภาษาปักษ์ใต้หมายถึงอาการนั่งแบบขัดสมาธิ หลวง พ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ 20 เมตร สูง 19 เมตร เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีน ซึ่งขนานนามหลวงพ่อโต องค์นี้ว่าซำปอกง
งาน นมัสการหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง งานประจำปี จะมีอยู่ 4 งานใหญ่ๆ ก็เป็นงานที่เนื่องด้วยประเพณีจีน 2 งาน คือ งานสงกรานต์ 13 เมษายน เป็นงานใหญ่มีการนมัสการและเวียนเทียนประทักษิณรอบองค์พระติดต่อกันถึง 5 วัน
งาน สรงน้ำและห่มผ้าถวาย วันแรม 8 ค่ำ เดือนเมษายน มีการสรงน้ำและเปลี่ยนผ้าห่มผืนใหม่ ส่วนผืนเก่าที่ใช้มาตลอด 1 ปี จะฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ แจกจ่ายให้ผู้คนนำไปบูชา
งาน ทิ้งกระจาด หรือ งานงิ้ว เดือน 9 จะมีงิ้วและมหรสพอื่นๆ เล่นประชันกันอย่างครึกโครม จะมีผู้คนนับหมื่น หลั่งไหลกันมานมัสการนับเป็นงานทิ้งกระจาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยทีเดียว








admin ลองเสี่ยงทายดู ได้ใบที่ 1   เลย