วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดมหาธาตุ มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยา
ภายในวัดประกอบด้วยองค์ปรางค์ประธาน ซึ่งล้อมรอบด้วย ระเบียงคต มีพระวิหารตั้งอยู่ทาง
ทิศตะวันออก ส่วนพระอุโบสถตั้งอยู่ทางด้านหลังของวัดทางทิศตะวันตกในแนวประธานเดียวกัน
วัดราชบูรณะ โด่งดังมากในเรื่องการขุดพบเครื่องทองมากมายในกรุพระปรางค์ใหญ่
และประชาชนยังสามารถลงไปชมภาพจิตรกรรมฝาฝนังสมัยอยุธยาตอนต้น ภายในกรุได้ด้วย
วัดราชบูรณะจึงเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมเข้าเยี่ยมชมอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ
ประวัติ
วัดราชบูรณะปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารว่า สร้างขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒
หรือ เจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ คือภายหลังจากสมเด็จพระนครินทราธิราชาสวรรคต
พระราชโอรสองค์ใหญ่สองพระองค์ คือเจ้าอ้ายพระยา ทรงครองเมืองสุพรรณบุรี
และเจ้ายี่พระยาทรงครองเมืองสรรค์บุรี สองพระองค์เสด็จลงมาชิงพระราชสมบัติกันเอง
ต่างทรงช้างเคลื่อนผลมาปะทะกัน ทรงพระแสงของ้าวต้องพระศอขาดพร้อมกัน
เจ้าสามพระยาทรงเป็นโอรสองค์ที่สาม เสด็จลงมาจากชัยนาทมาถึงภายหลัง จึงได้
เสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒
เมื่อเจ้าสามพระยาทรงขึ้นครองราชย์แล้ว จึงจัดการถวายเพลิงพระศพ พระเชษฐาธิราช
ทั้งสองพระองค์พร้อมกัน สถานที่ที่ถวายพระเพลิงนั้น ก็ทรงอุทิศสร้างพระปรางค์และพระวิหาร
มีนามว่า เจดีย์เจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยา
จุดที่น่าสนใจ
ปรางค์ประธาน มีขนาดสูงใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงบนฐานสี่เหลี่ยม
ซึ่งมีเจดีย์อยู่ทั้งสี่ทิศ มีบันไดขึ้นสู่องค์ปรางค์ทางทิศตะวันออกถือเป็นปรางค์แบบไทย
ที่นิยมทำฐานสูง ต่างจากปรางค์แบบขอมที่มักมีฐานเตี้ย นอกจากนี้หน้าปรางค์เป็นมุขใหญ่
ยืนออกมาเป็นห้องคูหา ส่วนยอดเรียวแหลมสูง คล้ายฝักข้าวโพด ยอดมีฝักเพกาในขณะ
ที่ขอมไม่มี

กรุมหาสมบัติ สิ่งจะมี 2 ตอน คือตอนที่เป็นเรือนธาตุ และตอนกลางองค์พระปรางค์
กรุชั้นบนสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 5 เมตร มีลักษณะเป็นกรุสี่เหสี่ยมจัตุรัส
ขนาดกว้างด้านละ 4 เมตร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนต้น มีภาพเทพชุมนุมลอยอยู่
บางองค์มีดอกไม้เป็นก้านชูออกไปข้างหน้า ลวดลายเครื่องประดับต่างๆมีลักษณะแบบศิลปะ
สุโขทัย และมีรูปกษัตริย์ หรือนักรบจีนองค์หนึ่งสวมชุดเขียวองค์หนึ่งสวมชุดขาว และอีกองค์
สวมชุดแดง ภาพแสดงเป็นเรื่องราว
กรุชั้นล่างอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2.20 เมตร มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ
1.20เมตร สูง 2.65 เมตรฝาผนังกรุชั้นล่างเจาะลึกเข้าไปเป็นช่องคูหาทั้ง 4 ด้าน
เพดานเขียนลายดาวตรงกลางล้อมรอบด้วยลายและเขียนกรอบด้วยเส้นลวด
เขียนเป็นลายเส้นดอกไม้สีแดงปิดทองเป็นวงกลมๆ ผนังเหนือซุ้มคูหาแบ่งเป็น 4 ชั้น
ชั้นบนเขียนรูปพระพุทธรูปสลับกับสาวก ผนังซัมคูหา สันนิษฐานว่า เขียนภาพชาดก
ในพระพุทธศาสนานับได้ 60 ชาติ มีภาพพระโพธิสัตว์ในชาดกต่างๆนั้น มีภาพที่พอเห็นชัด
คือภาพโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น นก กวาง ช้าง กาเผือก คนขี่ม้า นกเขา สุนัข และหงส์
นอกนั้นเลือนลาง
ภายในห้องกรุชั้นนี้ เคยเป็นสถานที่เก็บสมบัติและของมีค่าไว้มากมาย อาทิ เช่น พระแสงขันธ์
มงกุฎ และมงกุฏราชินี เสื้อทองคำ และพระพุทธรูปต่างๆ พระแก้ว พระทองคำ พระนาก เป็นต้น
ซึ่งในปี พ.ศ.2499 ขณะที่กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งภายในวัดมหาธาตุ คนร้ายได้ลักลอบ
ขุดกรุในองค์ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะได้ของมีค่าจำนวนมาก กรมศิลปากรจึงดำเนินการขุดกรุ
ในองค์ปรางค์ประธานอีกครั้ง พบเครื่องราชูโภคซึ่งทำด้วยทองคำ พระพิมพ์ส่วนหนึ่งนั้น
กรมศิลปากรได้เปิดให้ประชาชนเช่าไปบูชา เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งมาสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เจ้าสามพระยา และนำสิ่งของที่ได้จากกรุมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้


การเดินทาง
หากเดินทางมาจากรุงเทพโดยใช้ถนนสายเอเชีย(ทางหลวงหมายเลข 32)เลี้ยวซ้าย
ตรงสี่แยกเข้าอยุธยา ตรงเข้ามาผ่านสะพานนเศวร ตรงไปจนถึงสี่แยกไฟแดงที่ ๒
เลี้ยวขวาตรงไปไม่ไกลนัก ผ่านบึงพระราม จะเห็นวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ แล้ว
วัดราชบูรณะจะอยู่ถัดออกไป
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น.
ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท หมายเหตุ ตั้งแต่เวลา
ประมาณ 19.30น.- 21.00น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน




















0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น