วัดพระพุทธฉาย สระบุรี

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556








  พระพุทธฉาย (เงาพระพุทธเจ้า) คือเงาเลือนลางที่เป็นรอยประทับอยู่ที่หน้าผา เชิงเขา บริเวณวัดพระพุทธฉาย มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปยืน สันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้สร้างวัดพระพุทธฉาย ราวพ.ศ.๒๑๖๓-๒๑๗๑
ตำนานพระพุทธฉายโดยย่อ พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่เขาฆาฏกะ(เขาพระพุทธฉาย)เพื่อโปรดนายพรานฆาฏกะจน สำเร็จพระอรหันต์ ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จกลับ พระฆาฏกะได้ทูลขอให้ประทานสิ่งอันเป็นอนุสรณ์ เพื่อสักการะกราบไหว้ พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพุทธปาฏิหาริย์ให้เงาของพระองค์ติดอยู่ในเนื้อหิน ที่เงื้อมเขาพระพุทธฉายบรรพต
         พระพุทธฉาย(เงาพระพุทธเจ้า) เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานติดอยู่ ณ เงื้อมเขาพระพุทธฉาย อยู่ภายในมณฑปสองยอดบนไหล่ภูเขา อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ทางเข้าวัดพระพุทธฉาย เป็นถนนแยกจากถนนพหลโยธิน ตรงกิโลเมตรที่ ๑๐๒ (หมู่บ้านโคกหินแร่ ตำบลหนองยาว) เข้าไป ๕ กิโลเมตร (ระยะทางตามถนนจากตัวเมืองสระบุรี ลงทางใต้ ๖ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไป ๕ กิโลเมตร) ก็จะถึงที่ประดิษฐานพระพุทธฉายได้โดยสะดวก
           สันนิฐานว่า พระพุทธฉาย(เงาพระพุทธเจ้า) ค้นพบในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลังจากพบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธฉาย ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๖๓-๒๑๗๑) สมัยที่ค้นพบพระพุทธฉายได้สร้างพระมณฑปครอบพระบรมฉายาลักษณ์ไว้เป็นสถานที่ เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ตลอดจนพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อมา และเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง เป็นต้น จากพงศวดารตำนานที่ปรากฎชัดว่า "สมเด็จพระเจ้าเสือพร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์และข้าราชการบริพาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธฉาย แล้วเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท เป็นต้น จนถึงกษัตริย์พระองค์สุดท้ายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธฉายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ๓ ปี (พ.ศ.๒๓๐๗)
          ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนมาศ (เจิม) หน้า ๔๘๔ ได้กล่าวไว้ในบท "สมโภชพระพุทธฉาย" เกี่ยวกับพระพุทธฉายว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ว่า "ครั้นเดือนอ้ายเสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธฉาย แรมอยู่ ๓ วัน ฯลฯ แล้วเสด็จกลับมาสมโภชพระพุทธบาท ๗ วัน"
      จากประวัติและพระราชพงศาวดารดังกล่าวมาแสดงให้เห็นว่า พระพุทธฉายได้เจริญมาสมัยหนึ่งแล้ว ปรากฎจากหลักฐานและวัตถุโบราณนานับประการ ที่ยังปรากฎเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบันนี้ เช่นมณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขาลม วัดพระพุทธฉาย เป็นต้น แต่เนื่องจากภัยทางสงคราม บ้านเมืองไม่สงบสุข มีการรบทัพจับศึก เกิดการระส่ำระสายเปลี่ยนแปลงแผ่นดินบ้านเมืองเดือดร้อน ดังปรากฎในประวัติศาสตร์ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาจนกว่าจะตั้งกรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ ขึ้นเป็นเมืองหลวง พระพุทธฉายก็ได้ถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลาช้านานจนชำรุดทรุดโทรมลง มณฑปเดิมซึ่งสร้างไว้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และศาสนสถานถาวรวัตถุต่างๆ ได้ขาดการดูแลเอาใจใส่และภัยธรรมชาติได้ทำลายเสียหายเป็นอย่างมาก



          กาลเวลาได้ผ่านมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการบูรณะฟื้นฟูพระพุทธฉายอีกครั้งหนึ่ง ตามศิลาจารึกที่ค้นพบเป็นหลักฐานว่า "พระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๒๓๗๔ ปีมะโรง นักษัตรจัตวาศก มีพระคุณเจ้าสมภาร ๔ วัด คือพระปลัดวัดปากเพรียว ๑ สมภารวัดบางระกำ ๑ สมภารดวง วัดเกาะเลิ่ง ๑ และสมภารวัดบางเดื่อ ๑ สมภารทั้ง ๔ พร้อมทั้งญาติโยมได้มีอุสาหะพากันมาบูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธฉาย เป็นเวลาถึง ๗ ปี และในปีที่ ๘ จึงพระมหายิ้ม ได้มาร่วมกับสมภารทั้ง ๔ พร้อมด้วยญาติโยม ได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธปฏิมากรระเบียงมณฑป ลงลักปิดทอง บ้างจำลองลายสุวรรณอันบวร ปฏิสังขรณ์พระสถูปเจดีย์ สร้างหอระฆัง สร้างศาลา เป็นต้น
        ด้านยอดเขา ได้บูรณะพระมณฑปและลานพระโมคคัลลานะขุดสระบ่อน้ำ บูรณะพระอุโบสถ และตบแต่งสถานที่เป็นเวลาอีก ๓ ปี จนถึงปีฉลูจึงเสด็จตามความประสงค์ ได้จัดมหกรรมฉลององค์พระพุทธฉาย เมื่อปีเถาะ เบญจศก" จากศิลาจารึกที่นำมาโดยสังเขปนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธฉายได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาในระยะหนึ่ง กาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช และสมเด็จพระพันวษาอัยยิกาเจ้า ได้เสด็จมาฟื้นฟูบูรณะพระพุทธฉายทรงสร้างมณฑปขึ้นใหม่เป็นมณฑปสองยอดแทนมณฑป เดิม และทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่นๆ มีเสนาสนะสงฆ์ เช่น ศาลา พระอุโบสถบนยอดเขาพระพุทธฉาย ปฏิสังขรณ์มณฑปครอบรอยพระบาทจำลองยอดเดี่ยว
        บนยอดภูเขาด้านตะวันออกพระอุโบสถบริเวณลานพระโมคคัลลานะ วัดพระพุทธฉาย ซึ่งยังเหลือเป็นอนุสรณ์อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ นอกจากนั้นพระองค์พร้อมด้วยพระราชวงศ์และข้าราชบริพาร ยังได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธฉายอีกหลายครั้ง ดังปรากฎในประวัติศาสตร์การประพาสต้นและจดหมายเหตุ การบำเพ็ญพระราชกุศลนับเนื่องเกี่ยวกับพระพุทธฉาย เกี่ยวกับพระอุปัชฌาย์รัน และพระอธิการรูปอื่นๆ อีกมาก ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ติดอยู่ ณ เงื้อมผาด้านทิศตะวันตกของพระมณฑปพระพุทธฉาย พร้อมด้วยนามาภิไธยพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งปรากฎชัดจนถึงปัจจุบันนี้ ในรัชกาลต่อๆ มาก็ได้มีพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จมาพระพุทธฉายเป็นประจำ จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระเจ้าลูกเธอฯ ได้เสด็จมาทรงทอดผ้าพระกฐิน เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๖
          พระพุทธฉายได้บูรณะซ่อมสร้างมาเป็นเวลาช้านาน ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอย่างมาก จนทางข้าราชการร่วมกับคณะสงฆ์เห็นว่าจะปล่อยทิ้งรกร้างไว้อีกต่อไปไม่ได้ ปูชนียสถานที่สำคัญจะถูกทำลายลง จึงได้ส่ง พระครูพุทธฉายภิบาล (นาค ปานรัตน์) มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๑ เพื่อบูรณะซ่อมสร้างสถานที่พระพุทธฉายให้เจริญต่อไป เจ้าอาวาสได้ซ่อมแซมใหญ่ โดยซ่อมที่มณฑปที่ชำรุดซึ่งสร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงเทพฯ บนยอดภูเขาตามเดิม ส่วนมณฑปเก่าครอบพระบาทจำลองบนยอดเขายังคงไว้เป็นอนุสรณ์ ในลำดับต่อมาได้สร้างบันไดจากพื้นล่างด้านตะวันออกพระพุทธฉายขึ้นไปจนถึงยอด ภูเขายาวประมาณ ๒๗๐ ขั้น เพื่อให้ความสะดวกแก่ประชาชน จะได้ขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปปางต่างๆ ข้างบนและภายในอุโบสถ โดยบูชารอยพระพุทธบาทจำลองและชมวิวทิวทัศน์อันสวยสดงดงาม พร้อมด้วยบูชาสักการะพระรูปพระโมคคัลลานะ ที่ได้สร้างขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ ประดิษฐานอยู่ ณ ลานพระโมคคัลลานะ ในวิหารพระปฏิมากรเป็นประหนึ่งสังเวชนียสถานอันจะเกิดเป็นกุศลผลบุญต่อไป
      พระพุทธฉาย คือเงาเลือนลางที่เป็นรอยประทับอยู่บนหน้าผามีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปยืน หน้าผาแห่งนี้อยู่ในบริเวณวัดพระพุทธฉาย ซึ่งตั้งอยู่บนเชิงเขา วัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ตามตำนานกล่าวว่าในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่เขาฆาฏกะ (เขาพระพุทธฉาย) เพื่อโปรดพรานฆาฏกะ ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จกลับ พรานได้ทูลขอให้ประทานสิ่งอันเป็นอนุสรณ์ พระพุทธองค์จึงทรงกระทำพุทธปาฏิหาริย์ ให้พระฉายาลักษณ์ของพระองค์ติดอยู่กับเขาที่เงื้อมผาเขาพระพุทธฉายบรรพต
รูปพระพุทธฉาย ณ บริเวณเงื้อมผาฆาฏกะ (เขาพระพุทธฉาย) มีลักษณะเป็นเส้นเงาสีแดง คล้ายสีดินเทศ สูงประมาณ ๕ เมตร



       รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา วัดพระพุทธฉาย ประทับรอยอยู่ในเนื้อหินยอดเขาลม(เขาพระพุทธฉาย) สันนิษฐานว่า มีการค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยา ในครั้งนั้นมีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งออกไปถึงลังกาทวีปเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ เขาสุมณกูฏถูกพระสงฆ์ลังกาถามว่า รอยพระพุทธบาทที่มีอยู่ทั้งหมดนั้น เขาสุวรรณบรรพตก็อยู่ในประเทศไทยคนไทยไม่ไปบูชารอยพระพุทธบาทที่นั่นดอกหรือ จึงต้องออกมาบูชาถึงลังกาทวีป พระภิกษุสงฆ์จำนวนนั้นกลับมานำความขึ้นบังคมทูลพระเจ้าทรงธรรม พระองค์จึงโปรดให้มีตราสั่งไปยังหัวเมืองเที่ยวตรวจค้นดูตามภูเขาว่าจะมีรอย พระพุทธบาทอยู่ ณ ที่แห่งใด
           เมื่อค้นพบจึงโปรดให้สร้างเป็นมหาเจดียสถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท และโปรดให้สร้างสังฆารามแล้วทรงพระราชอุทิศที่ส่วนหนึ่งโดยรอบพระพุทธบาทและ พระพุทธฉายถวายเป็นพุทธบูชาต่อมาถึงรัชสมัยพระเสือ ราว พ.ศ.๒๒๔๖-๒๒๕๑ ปรากฏว่า ทรงปฏิสังขรณ์พระมณฑปโปรดให้เปลี่ยนแปลงเป็นพระมณฑป ๕ ยอด โดยไม่มีผู้ใดซ่อมแซมอีกเลย รวมอายุของพระมณฑปนับจากสมัยพระเจ้าเสือได้ประมาณเกือบ ๔๐๐ ปี
        เหตุที่พระมณฑปซึ่งมีอายุเกือบ ๔๐๐ ปี คงสภาพอยู่ได้ก็คงด้วยอำนาจความศักดิ์สิทธิ์แห่งรอยพระพุทธบาทเป็นแน่แท้ ไม่เช่นนั้นแล้วคงตั้งอยู่ไม่ได้แน่เพราะเหตุมีพายุฝนหลายครั้งหลายหนด้วย กันจนสิ่งปลูกสร้างขึ้นภายหลังยังถูกพายุฝนพัดพังพินาศจนหมดสิ้นคงเหลืออยู่ แต่พระมณฑปหลังนี้เท่านั้นเป็นที่อัศจรรย์
        ปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ โดยกรมศิลปากรได้ตั้งงบประมาณเพื่อบูรณะซ่อมแซมพระมณฑป ๕ ยอดซึ่งชำรุดทรุดโทรมไปมากตามกาลเวลา และได้เข้าดำเนินการซ่อมแซม เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๗ การซ่อมแซมดำเนินการมาถึงเดือน สิงหาคม ช่างได้เคลื่อนย้ายรอยพระพุทธบาทจำลองออกไป เพื่อจะทำการซ่อมแซมนั้น ขณะที่เคลื่อนย้ายรอยพระพุทธบาทจำลองออกไป และทำการทุบพื้นซีเมนต์เก่า ก็พบว่าภายใต้พื้นปูนซีเมนต์เก่านั้น มีทรายหยาบๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อคุ้ยทรายออกจึงปรากฎเห็น "รอยพระพุทธบาท" เด่นชัด ลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ตรงกลางมีรอยธรรมจักร ถูกต้องตามลักษณะทุกประการ ฯ
ขอบคุณ.....ข้อมูลจาก  นิตยสาร ผู้พิทักษ์ ปวงชน






















วัดสมานรัตนาราม (Wat Saman Rattanaram ) chachoengsao thailand

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วัดสมานรัตนาราม ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอบางคล้า และอำเภอคลองเขื่อน ริมแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็น วัดที่มีองค์พระพิฆเนศปางนอนเสวยสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สูง 16 เมตร ยาว 22 เมตร เนื้อชมพู เป็นพระพิฆเนศปางนอนเสวยสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลักษณะ กึ่งนั่งนอนตะแคง โดยพระหัตถ์ซ้าย ถืองาที่ หัก พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว โดยรอบฐานมีพระพิฆเนศ 32 ปาง ให้ได้ขอพรสักการะความหมาย ของ พระพิฆเนศ ปางนอนเสวยสุข คือ ความสุขสบาย ความสุขบริบูรณ์มั่งคั่งพร้อมทุกด้าน รื่นรมย์ ไร้ทุกข์ ไร้ความ เศร้าหมอง อิ่มหนำสำราญ มีกิน มีโชคลาภ จะนำความความสุขสบายมาสู่ผู้บูชา ถือเป็นมหามงคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่คู่ ประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทราอีกด้วย
 

 ตามคำบอกเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยนั้นเล่าสืบกันต่อกันมาว่ามีครอบครัวหนึ่งอยู่ในฐานะมั่นคงเป็นคหบดีมีคนเคารพนับถือ คือครอบครัวท่านขุนสมานจีนประชา (เดิมชื่อจ๋ายเมื่อท่านขุนสมานจีนประชาถึงแก่กรรมแล้ว    ภรรยาทั้ง  ของท่านขุนสมานจีนประชา  นางทิม สืบสมาน และ นางผ่อง  สืบสมาน(เพิ่มนคร ) พร้อมด้วย นางยี่สุ่น วิริยะพานิช (ผู้เป็นน้องสาว ต่อมาภายหลังได้สร้างพระปรางค์ขึ้นหน้าโบสถ์  ปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นอยู่) มีความศรัทธาคิดจะสร้างวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สามีผู้ล่วงลับ   จึงได้ดำเนินการสร้างวัด ปรากฏตามหลักฐาน เมื่อ ..๒๔๒๒   
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๕)ทรง เสด็จทางชลมารค์ผ่านมา ได้ทรงแวะเยี่ยมวัด และได้มีชาวบ้านผู้หนึ่ง ชื่อ นายเหว่า  โพนสุวรรณ์ นำนกกวักเผือกถวาย ณ ที่วัดแห่งนี้ด้วย
เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า  วัดใหม่ขุนสมานเพิ่มนคร เป็นวัดราษฎ์ คณะสงฆ์ปกครองวัดสมัยนั้นเป็นฝ่ายมหานิกาย  แต่ปกครองไม่นานนัก ผู้สร้างวัดได้ถวายพระในคณะธรรมยุตมี พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโพเป็นประธานสงฆ์ในการรับถวายนี้ชาวบ้านโดยทั่วไปมักเรียกวัดนี้ว่า วัดใหม่ขุนสมานมาจนถึงทุกวันนี้














วิธีเดินทาง
รถส่วนตัว
จากถนนรามอินทรา ออกมีนบุรี ก่อนถึงมีนบุรีเลี้ยวซ้ายไปจังหวัดฉะเชิงเทรา สังเกตุป้ายบอกทางเมื่อจะเข้า แปดริ้วเลี้ยว ซ้ายบนสะพาน (ตรงไปจะไปชลบุรี ) ไปเรื่อยๆเลยไฟแดงชิดขวาขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ตรง ไปถึงสี่แยกไฟแดงแยกคอมเพล็กเลี้ยวซ้าย ไปทางบางคล้า ตั้งไมล์กม. จะถึงปากทางวัดจุกเฌอ เลี้ยวช้าย เข้าไปอีกประมาณกิโล จะมีทางเบี่ยงขวาสังเกตป้าย(ถ้าเลยจะเข้าวัดจุกเฌอให้ถอยกลับ) วิ่งข้ามสะพานชี่ง เป็นเขื่อนทดน้ำจะสูง สักนิดลงสะพานวิ่งต่อไปอีกประมาณ1กม.จะถึงปากทางเข้าวัดสมานรัตนาราม
** พอถึงฉะเชิงเทราแล้วป้ายบอกทางไปวัดสมานรัตนารามเยอะมากๆครับ ไม่หลงแน่

หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร chachoengsao thailand

ประวัติ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร PDF พิมพ์ อีเมล
ประวัติ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร (วัดหลวงพ่อโสธร)
หลวงพ่อโสธรเรื่องบุญบารมีอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ใครๆ จะปฏิเสธไม่ได้เลย และจะแข่งขันให้เท่าเทียมกันนั้นก็ได้ยาก จะมีบ้างก็บางสถานที่ บางท่านบางคนทั้งยังเป็นสิ่งที่เหนือเหตุผลของการพิสูจน์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า สิ่งมหัศจรรย์นั้นเป็นอจินตัยไม่ควรคิดค้นหาเหตุผล ความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารจะดลบันดาลให้เกิดมีเฉพาะผู้มีบุญวาสนา และผู้เลื่อมใสศรัทธาเชื่อมั่นเท่านั้น หลวงพ่อโสธรองค์ หนึ่งที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มีอภินิหารเป็นพระพุทธรูปที่ทรงอานุภาพ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมิ่งขวัญของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา และเป็นที่รู้จักเคารพบูชาของประชาชนทั้งหลาย หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ ปรางค์ขัดสมาธิเพชร แต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูนลงลักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3ศอก 5 นิ้ว พระเนตรเนื้อเลียนแบบพระสมัยลานช้าง หรือเรียกกันสามัญว่า “พระลาว” ซึ่งพระชนิดนี้มีชื่อว่าวัดหงษ์
  โดยที่วัดนี้มีเสาใหญ่ มีหงษ์เป็นเครื่องหมายติดอยู่กับยอดเสา วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงด้านทิศตะวันตก สถานที่ตั้งวัดแต่ดั้งเดิมนั้น เวลานี้ถูกน้ำเซาะพังเป็นแม่น้ำไปหมดแล้ว วัดนี้ใครเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ แต่ได้ความว่าเป็นวัดเก่าแก่สร้างมานานแล้ว ต้นเหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่า โสทรหรือ โสธร นั้นเล่ากันว่ากาลต่อมาหงษ์ใหญ่ที่ติดอยู่บนยอดเสานั้น พลัดตกลงมาหักทำลายคงเหลือแต่เสา จึงได้เอาผ้าผืนใหญ่ทำเป็นธงขึ้นไปแขวนไว้บนยอดเสาแทนหงษ์ประชาชนก็เลยเรียก ชื่อตามนิมิตเครื่องหมายนั้นว่า วัดเสาธง นานมาเสาธงนี้ได้ถูกลมพายุพัดหักโค่นลงมาเป็น 2 ท่อน ชาวบ้านก็เลยถือเอานิมิตที่เสาธงหักเป็นท่อนนั้นตั้งเป็นชื่อวัดว่า “วัดเสาทอน” อยู่สิ้นกาลช้านาน จวบจนถึงสมัยที่มีพระพุทธรูป 3 องค์ พี่น้องล่องลอยน้ำมาจากเหนือ และในจำนวนพระพุทธรูป 3 องค์ นั้นได้อาราธนาอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ 1 องค์ คือ หลวงพ่อโสธร และปรางหลังครั้งหลังก่อนหลวงพ่อโสธรจะมีชื่อเรียกมาอย่างไรไม่มีใครทราบ

         เมื่อได้หลวงพ่อมาไว้สักการะบูชาแล้ว ก็ได้มีท่านผู้รู้ออกความเห็นว่า วัดนี้ยังเรียกชื่อวัดกันไม่แน่นอน จึงพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ว่า “วัดโสทร” อันหมายความว่า วัดพระ 3 องค์ พี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน เมื่อเปลี่ยนเป็นชื่อวัดโสทรแล้ว หมู่บ้านและคลองที่ขึ้นอยู่กับวัดนี้ก็ได้นามเปลี่ยนตามวัดไปด้วย เดิมทีเดียววัดนี้ใช้ตัวหนังสือเขียนว่า “โสทร” ไม่ได้เขียนว่า “โสธร” ดังปัจจุบันนี้ แต่เนื่องด้วยพระพุทธรูปที่ได้มาคือหลวงพ่อโสธรนั้น มีอานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏ และรูปทรงท่านสวยงามมาก จึงได้เขียนและชื่อวัดว่า “วัดโสธร” ซึ่งมีความหมายว่า “พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์” มาจนทุกวันนี้
คำว่า “โสธร” นี้มีพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นว่า เป็นนามที่ศักดิ์สิทธิ์ (โส) เป็นอักขระสำเร็จรูป ป้องกันทุกข์โศกโรคภัยได้ทั้งปวง (ธ) นั้นเป็นพยัญชนะอำนาจ มีตบะเดชานุภาพ (ร) เป็นอักษรมหานิยมเป็นที่ชื่นชมของเทวดาและมนุษย์
         เมื่อ พ.ศ.2458 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสพระสังฆราชเสด็จมาตรวจการคณะสงฆ์ที่วัดโสธร ทรงสันนิษฐานว่า ผู้ที่ให้ชื่อวัดนี้ไม่ใช่คนที่ไม่รู้ เพราะเป็นนามที่ไพเราะทั้งแปลก็ได้ใจความดังนี้ หลวงพ่อโสธรมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรนานเท่าใด ไม่มีใครทราบได้แน่นอนพอจะมีเค้าตามคำบอกเล่าอันเกี่ยวโยงถึง หลวงพ่อวัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงครามและหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการว่า เป็นพระพุทธรูปที่ลอยน้ำมาด้วยกัน และเป็นพระพี่น้องกันและชาวบ้านแหลมได้อัญเชิญหลวงพ่อวัดบ้านแหลมขึ้นจากน้ำ เมื่อ พ.ศ.2313 จึงคาดคะเนเอาว่าหลวงพ่อก็คงมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรราว พ.ศ.2313 หรือก่อนนั้นก็ไม่แน่นัก
  ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธรนี้มีผู้เล่าสืบ ๆ กันมาหลายกระแส ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่หลายคน ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้รับฟังมาจากบรรพบุรุษเล่าให้ฟังต้องกันว่า “หลวงพ่อโสธร” ลอยน้ำมาตามคำว่า มีพระพี่น้องชายกัน 3 องค์ อยู่ทางเมืองเหนือแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ล่องลอยมาตามแม่น้ำจากทางทิศเหนือ เรื่อยมาจามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่สุดมาผุดขึ้นใน แม่น้ำบางปะกง ณ ที่ตำบลหนึ่ง และแสดงปาฏิหารย์ลอยทวนกระแสน้ำให้ประชาชนเห็นทั้ง 3 องค์ ประชาชนแถบนั้นต่างพร้อมใจกันอาราธนาเอาเชือกพรวนมนิลาลงไปผูกมัดที่องค์ หลวงพ่อทั้ง 3 แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้นฝั่งด้วยจำนวนผู้คนประมาณ 500 กว่าคนก็ฉุดขึ้นไม่ได้ เชือกขนาดใหญ่ที่ผูกองค์หลวงพ่อทั้ง 3 ก็ขาดฉุดไม่สำเร็จตามความประสงค์ ครั้นแล้วหลวงพ่อทั้งสามองค์ก็จมน้ำหายไปต่อหน้าคนทั้งหมด สถานที่พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ได้ลอยทวนน้ำมานั้นเลยได้ชื่อว่า “ตำบลสามพระทวน” แต่ต่อมากลับเรียกว่า สัมปทวน ได้แก่แม่น้ำหน้าวัดสมปทวน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันนี้
   ต่อจากนั้นพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ก็ล่องลอยตามแม่น้ำบางปะกง เลยผ่านหน้าวัดโสธรไปถึงคุ้งน้ำใต้วัดโสธร แสดงอภินิหารผุดขึ้นให้ชาวบ้านบางนั้นเห็น ชาวบ้านได้ช่วยกันอาราธนาฉุดขึ้นฝั่งทำนองเดียวกันกับชาวสัมปทวน แต่ก็ไม่สำเร็จหมู่บ้านบางนั้นจึงได้ชื่อว่า บางพระ มาจนทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ก็ล่องลอยทวนน้ำขึ้นมาถึงและลอยวนอยู่ที่หัวเลี้ยว ตรงกองพันทหารช่างที่ 2 ปัจจุบัน สถานที่พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์มาลอยวนอยู่นั้นจึงเรียกกันว่า แหลมหัววน และได้จมน้ำหายไปหลังจากนั้นพระพุทธรูปองค์พี่ใหญ่ ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปฏิหาริย์ ล่อยลอยไปผุดขึ้นที่ลำน้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ประชาชนชาวประมงอาราธนาขึ้นได้ และประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญอยู่ที่วัดบ้านแหลมเราเรียกว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ทุกวันนี้เป็นที่บูชานับถือกันว่าเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ทัดเทียมกับหลวงพ่อโสธร ส่วนองค์สุดท้องได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ลอยล่องไปผุดขึ้นที่ปากคลองสำโรง ชาวบ้านแถบนั้นได้อาราธนาขึ้นแพใช้เรือพายลายจูง ทั้งอธิษฐานว่าจะขึ้นเป็นมิ่งขวัญที่ใด ก็ขอให้แพนั้นจงหยุดอยู่กับที่ แล้วล่องมาตามลำคลองแพนั้นก็มาหยุดอยู่หน้าวัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ ชาวบางพลีก็ได้อาราธนาอัญเชิญขึ้นประดิษฐานอยู่ทีวัดบางพลีใหญ่ใน ก็ปรากฏว่ามีผู้คนเคารพเลื่อมใสมากมายทัดเทียมกับหลวงพ่อวัดบ้านแหลม และหลวงพ่อโสธร ส่วนพระพุทธรูปองค์กลาง คือ หลวงพ่อโสธร เมื่อลอยตามน้ำมาจากหัววนดังกล่าวแล้ว ก็มาผุดขึ้นที่ท่าหน้าวัดโสธร
         กล่าวกันว่าประชาชนจำนวนมากทำการฉุดลากขึ้นโดยได้มีอาจารย์ผู้มีความรู้ทาง ไสยศาสตร์กระทำตามพิธีการอันถูกต้อง แล้วเอาด้านสายสิญจน์คล้องกับพระหัตถ์หลวงพ่อโสธรอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่ง นำมาประดิษฐานในวิหารสำเร็จตามความประสงค์ แล้วก็จัดให้มีการฉลองสมโภช และให้นามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อโสธร องค์หลวงพ่อโสธรจริง ๆ นั้นในสมัยที่ลองลอยน้ำมาเดิม เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิเพชร หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก
         ต่อมาพระสงฆ์ในวัดเห็นว่ากาลต่อไปภายหน้าฝูงคนที่มีตัณหาและความโลภแรงกล้า มีอัธยาศัยเป็นบาปลามกไม่มีความศรัทธาเลื่อมใส จักนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจะไม่เป็นการปลอดภัย จึงพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้มองค์จริงไว้ภายในดังปรากฏที่เห็นในปัจจุบันนี้
         สถานที่วัดโสธรตั้งอยู่เดิมภายแรกนั้น ทางบกเป็นป่ามีหมู่บ้านคนน้อยมาก การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก เมื่อหลวงพ่อโสธรมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรแล้ว ประชาชนชาวเรือนับถือว่า ถ้าได้บอกขอต่อหลวงพ่อโสธรแล้ว สินค้าก็ซื้อง่ายขายคล่องเป็นเทน้ำเทท่า เรือแพที่ผ่านไปมาในแม่น้ำพอถึงที่ตรงกับโบสถ์หลวงพ่อโสธรแล้ว ผู้ที่นิยมนับถือและเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธร ก็วักเอาน้ำในแม่น้ำซึ่งนับถือว่าเป็นน้ำมนต์หลวงพ่อดื่มบ้าง ลูบศีรษะบ้าง ล้างหน้าประพรมเรือสินค้าในเรือ ดังได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ครั้นต่อมาการคมนาคมทางบกสะดวกขึ้น จึงมีผู้คนไปนมัสการหลวงพ่อกันมากขึ้น ผู้ใดเจ็บป่วยก็มาขอความคุ้มครองจากหลวงพ่อโสธร และก็ได้รับสมความปรารถนาเป็นส่วนมาก กิติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธรได้แผ่ไพศาลไปในถิ่นต่าง ๆ มูลเหตุที่มีงานสมโภชนั้น

         เล่ากันว่า สมัยหนึ่งบ้านโสธรเกิดข้าวยากหมากแพง ฝนแล้งข้าวกล้าในนาเหี่ยวแห้งตาย สัตว์พาหนะเกิดโรคระบาด ผู้คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นโรคฝีดาษล้มเจ็บลงตามกัน ผู้ที่พอหนีได้ก็ทิ้งสมบัติบ้านเรือนหนีเอาตัวรอด ผู้ที่ป่วยไปไม่ไหวก็นอนรอวันตายของตนอยู่ ในกาลนั้นยังมีบุรุษหัวหน้าครอบครัว ๆ หนึ่งก็ได้เป็นโรคนี้ เมื่อเห็นว่าไม่มีคนที่พอจะเป็นที่พึ่งกันได้ ก็เลยหันหน้าเข้าพึ่งสรณะนมัสการอธิษฐานบนบานขอความคุ้มครองรักษาจากหลวงพ่อ โสธรในวิหาร รับเอายาดีของหลวงพ่อโสธรมา 3 อย่าง คือ ขี้ธูป 1 ดอกไม้เหี่ยวแห้งที่บูชาแล้ว 1 และน้ำมนต์จากหลวงพ่อโสธร 1 เอามาต้มกินทาอาบทั่วสรรพางค์กาย ปรากฏว่าได้ผลสมปรารถนา โรคภัยต่าง ๆ หายเป็นปกติด้วยความดีใจที่โรคหายสมประสงค์จึงจัดให้มีการสมโภชแก้บนถวาย หลวงพ่อแต่นั้นมา กิติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธร ก็แพร่ไปทั่วในถิ่นต่าง ๆ กว้างขวางมากยิ่งขึ้นจนเป็นที่เลื่องลือนับถือบูชาว่าหลวงพ่อโสธรศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดปรารถนาสิ่งใดที่ชอบธรรม ท่านก็ประสิทธิ์ประสาทให้สมประสงค์ การสมโภชแก้บนจึงมีขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
         มีพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับหลวงพ่อโสธร ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2451 ไว้ดังนี้
         “กลับมาแวะวัดโสธร” ซึ่งกรมหลวงดำรงคิดจะแปลว่า ยโสธรจะให้เกี่ยวข้องแก่การที่ได้สร้าง เมื่อเสด็จกลับจากการไปตีเขมร แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ หรือเมื่อใดนั้นเป็นที่สงสัยด้วยเห็นไม่ถนัด พระพุทธรูปทำด้วยศิลาแลงทั้งนั้น องค์ที่สำคัญว่าเป็นหมดดีนั้น คือ องค์ที่อยู่กลาง ดูรูปตักและเอวงามเป็นทำนองเดียวกันกับพระพุทธรูปเทวปฏิมากร แต่ตอนบนกลายเป็นด้วยฝีมือผู้ปั้นไปว่า ลอยน้ำมาก็เป็นความจริงเพราะเป็นศิลาคงจะไม่ได้ทำในที่นี้”
อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธร มีมากเหลือที่จะเล่าสู่กันฟังให้หมดได้ เพราะหลวงพ่อโสธรเปรียบเสมือนเป็นต้นโพธิ์ไทรอันใหญ่ ให้สรรพสัตว์ได้พำนักอาศัย หลวงพ่อโสธรเป็น ร่มใหญ่กางกั้นสรรพภัยอันตราย ความเดือดร้อนลำเค็ญให้สรรพสัตว์ได้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นแพทย์วิเศษพยาบาลผู้อาพาธให้หายขาดไม่กลับคืน เป็นสรณะที่พึ่งพิงของหมู่บริษัทที่ถูกภัยคุกคามเป็นนิธิบ่อบุญกุศลของทายก ทายิกาผู้ใฝ่หาบุญกุศลเป็นหมอดูพยากรณ์ทายโชคชะตาวาสนาทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน ให้ทุกท่านผู้ต้องการทราบหลวงพ่อเป็นสัพพัญญูสำเร็จวิชาทุกอย่างทั้งทางโลก และทางธรรม เป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ไม่มีผู้ใดยิ่งไปกว่าหลวงพ่อ

งานนมัสการหลวงพ่อโสธร

         หลวงพ่อโสธรเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนพุทธบริษัททั้งใกล้และไกลเป็นที่นับถือ และที่ผู้ไปนมัสการไม่ขาด ทางวัดจึงจัดให้มีงานเทศกาลฉลององค์หลวงพ่อปีหนึ่งมีสองครั้ง คือ
1. งานเดือน 5 เรียกว่างานกลางเดือน 5 เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน
2. งานเดือน 12 เรียกว่างานกลางเดือน 12 เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน

คำอาราธนาหลวงพ่อโสธร

กายานะ วาจายะวะ วาโสธะรัง
นามะ อิติปาริหะ ริยะกาง
พุทธธะรูปัง อะหังปิ



 

ขอบคุณ ข้อมูล จากเวป ร้านอิทธิปาฏิหาริย์

http://www.itti-patihan.com/